วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติผู้จัดทำ

ประวัติ

 

ชื่อ นายองอาจ   วิสาระพันธ์   ชื่อเล่น เบิร์ด
กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/10  
โรงเรียนอำนาจเจริญ  ปีการศึกษา 2556

งานอดิเรก  อ่านหนังสือ  เตะฟุตบอล
สีที่ชอบ   สีเขียว
อาหารที่ชอบ กะเพรา
ทีมฟุตบอลในดวงใจ  Manchester United
นักฟุตบอลที่ชื่นชอบ  D.Beckham
สัตว์ที่ชอบ  สุนัข
สัตว์ที่น่ากลัว  งู  หนอน
ชอบเรียนวิชา  คณิตศาสตร์
ลักษณะนิสัย   เป็นคนง่าย ๆ  เข้ากับคนอื่นได้ดี ทำตัวสบายๆ  ร่าเริง  ยิ้มเก่ง  
คติประจำใจ   ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ   สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว
น้ำหนัก 60 กิโลกรัม   ส่วนสูง  175 ซม.
อนาคต  อยากเป็นตำรวจ  นักบิน
ความฝัน  อยากไปบินรอบโลก

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติสนามโอลด์ แทร็ฟฟอร์ด

ประวัติสนามโอลด์ แทร็ฟฟอร์ด



สนาม โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด  [Old Trafford Stadium]

สนาม โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด

ย้อนกลับไปกว่าหนึ่งศตวรรษที่แล้ว "แทร็ฟฟอร์ด ปาร์ค" ซึ่งตอนนั้น มีสถานะเป็นเพียงผืนแผ่นดินว่างเปล่าบนนิคมอุตสาหกรรม แทร็ฟฟอร์ด พาร์ค ถูกซื้อด้วยเงินจำนวน 60,000 ปอนด์ และนำมาเนรมิตให้กลายบ้านแห่งใหม่ของสโมสร สนาม "โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" ที่ทุกวันนี้ได้แปรสภาพเป็นหนึ่งในสนามฟุตบอลชั้นดีที่สุดในโลกของเมืองแมน เชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ มีความจุผู้ชมได้ สูงถึงกว่า 80,000 คน และนี่คือเรื่องราวทั้งหมดของ "โรงละครแห่งความฝัน" หรือ "Theatre of Dream"
เมื่อครั้งที่สมัยยอดทีมอย่าง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ยังใช้ชื่อเดิมว่า "นิวตัน ฮีธ" พวกเขายังเป็นเพียงสโมสรฟุตบอลเล็กๆ ทีมหนึ่ง ซึ่งได้เข้าร่วมแข่งขัน ฟุตบอลลีกในปี 1892 และมีสนามเหย้าที่เข้าขั้นแย่ที่สุดอย่าง "นอร์ท โร้ด" ในมอนซอลล์ ซึ่งสนามมีสภาพราวกับปลักโคลน และห้องแต่งตัวก็อยู่ห่างไกลออกไปกว่าครึ่งไมล์ที่ผับ ทรีคราวน์ส
อย่างไรก็ตาม แม้จะได้ย้ายสนามจาก "นอร์ท โร้ด" มาสู่ "แบงค์ สตรีท" นั้น แต่ทั้งสองสนามก็มีสภาพไม่แตกต่างกันมากนัก และก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์กันว่าพื้นสนามนั้นย่ำแย่มากเช่นเดิม ด้วยเหตุนี้ ประธานสโมสร จอห์น เดวี่ส์ จึงได้ตัดสินใจย้ายห่างจากตัวเมืองไปอีก 5-6 ไมล์ ที่นั่นคือ "แทร็ฟฟอร์ด พาร์ค" ย่านชานเมือง แมนเชสเตอร์
"โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" เริ่มออกมาให้ได้ยินกันเป็นครั้งแรกในระหว่างฤดูกาล 1909/10 โดยพื้นที่ซึ่งใช้ในการสร้างสนามนั้นซื้อโดยบริษัทแมนเชสเตอร์ บริวเวอรี่ (จอห์น เฮนรี่ เดวี่ส์) และให้สโมสรเช่าต่ออีกที เดวี่ส์เองเป็นคนจ่ายเงินค่าก่อสร้างด้วยเงินจำนวน 60,000 ปอนด์ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 1908 ภายใต้การควบคุมของอาร์ชิบัลด์ ลีทช์ สถาปนิกชื่อดัง เมื่อย่างเข้าปี 1910 สโมสรก็ขนย้ายข้าวของจากสนามเดิมที่แบงค์สตรีทเข้ามาปักหลักที่นี่แทน และเนรมิตให้กลายบ้านแห่งใหม่ของสโมสร สนาม "โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" มีความ จุผู้ชมได้สูงถึง 80,000 คน

สนาม โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด  [Old Trafford Stadium]

โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด ปี1926


"โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" เริ่มเปิดประตูต้อนรับแฟนบอลเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1910 แต่ก็เป็นความทรงจำที่ไม่ค่อยดีนักเมื่อทีมพ่ายให้กับ ลิเวอร์พูล 4-3 ในช่วงนั้นแฟนบอลส่วนใหญ่ต้องยืนดูเกมการ แข่งขัน แต่ก็ถือเป็นความความสำเร็จ ของสนามแห่งใหม่ที่สามารถรองรับคนดูได้ถึง 80,000 คนในเกมดังกล่าว ถึงยังเป็นสังเวียนฟาดแข้งที่ให้ความสะดวกสบาย แฝงด้วยความหรูหราโดยไม่มีสนามแห่งใดในยุคเดียวกันจะเทียบเท่าได้ ไม่ว่าจะในเรื่อง เก้าอี้พับเก็บได้ มีห้องจิบน้ำชา และคนคอยบริการชี้ทาง พาไปหาที่นั่ง พร้อมทั้งยังมีห้องเล่นเกม โรงยิม และอ่างอาบน้ำขนาดยักษ์ สำหรับนักเตะอีกด้วย
หลังจากรองรับฝูงชนมากหน้าหลายตามาเป็นระยะเวลา 30 ปี "โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" ก็ห่างหายจากเกมลูกหนังอยู่เกือบ 1 ทศวรรษเต็มๆ รวมถึงฟุตบอลลีก ต้องหยุดชะงักหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1939 จากนั้นในคืนวันที่ 11 มีนาคม ปี ค.ศ. 1941 "โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" ก็ต้องพังทลายลงหลังโดนกองทัพอากาศของเยอรมัน ทิ้งระเบิดใกล้ๆ กับนิคมอุคสาหกรรม แทร็ฟฟอร์ด พาร์ค ระเบิดหลายลูกตกลงที่สนาม "โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" อัฒจันทร์ เมน สแตนด์ ถูกทำลายย่อยยับ เช่นเดียวกับตัวพื้นสนามก็ได้รับความเสียหาย ไปด้วย หลังสิ้นสุดสงครามรัฐบาลอังกฤษ ได้มอบเงินให้กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จำนวน 22,278 ปอนด์ เพื่อบูรณะสนามขึ้นใหม่ ระหว่างนั้นเอง ทีมปีศาจแดงต้องย้ายไปเล่นที่ "เมน โร้ด" สนามของทีม แมนเชสเตอร์ ซิตี้ นานถึง 4 ปี
แมนฯ ยูไนเต็ด ต้องการสนามใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมเพื่อรองรับผู้ชมจำนวน 120,000 คน ให้ได้ แต่ท้ายที่สุดแล้ว พวกเขาไม่มีงบประมาณพอที่จะก่อสร้างได้ ซึ่งทำได้เพียงแค่สร้าง เมน สแตนด์ ขึ้นใหม่แทนที่ของเดิมที่ถูกทำลายเท่านั้น ในวันที่ 24 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1949 ทีมปีศาจแดงได้กลับมายังถิ่นของพวกเขาอีกครั้ง ท่ามกลางฝูงชนกว่า 41,000 คน และสามารถเอาชนะ โบลตัน วันเดอเรอร์ส ได้ในเกมนัดแรกของรอบ 10 ปีที่กลับมาเล่น ณ สนามแห่งนี้


สนาม โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด  [Old Trafford Stadium]

"โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด ปี1950-1966 "


นับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1957 "โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" เริ่มสว่างไสวบนเวทีลูกหนังยุโรป เมื่อ แมนฯ ยูไนเต็ด ได้สิทธิเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลยุโรป เกมกลางสัปดาห์ซึ่งต้องเล่นในช่วงเย็น นั่นหมายถึงพวกเขาต้องมีไฟสนาม และเกมนัดแรก ภายใต้แสงไฟคือก็คือเกมลีก เมื่อ 25 มีนาคม ปี ค.ศ. 1957 ในขณะที่ทีใหญ่อย่าง รีล มาดริด คือ ทีมแรกจากยุโรปที่มาเล่นภายใต้ไฟสนามใหม่ชั้นยอดที่นี่
นอกจานั้น แฟนบอลรุ่นเก๋าคงยังจำได้ดีถึงความรู้สึกที่เปียกปอนไปด้วย เม็ดฝนพร้อมๆ กับนักเตะในสนาม เพราะอัฒจันทร์ "สเตรตฟอร์ด เอนด์" ชื่อดัง ไม่มีแม้หลังคาไว้บังแดดบังฝน จนกระทั้งใน ปี ค.ศ. 1959 การจัดแข่งขันฟุตบอลโลก ณ สนาม โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด ทำให้สนามได้รับการปรับ ปรุงให้ทันสมัยมากขึ้นในช่วงยุค 60 อัฒจันทร์แบบแคนติลิเวอร์ (แบบอย่างต้นกำเนิดของอัฒจันทร์ในปัจจุบันที่ไม่ต้องใช้เสาค้ำยันให้บังทัศนียภาพในเกมการแข่งขัน) ถูกเปิดใช้ใน ปี ค.ศ. 1964 ด้วยงบประมาณในก่อสร้าง จำนวน 350,000 ปอนด์ ขณะที่แฟนบอลของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เริ่มเพิ่มมากขึ้นตามความจุของสนาม


สนาม โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด  [Old Trafford Stadium]

โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด ปี1990


ใน ปี ค.ศ 1992 ประเพณีการยืนเชียร์เกมการแข่งขันฝั่ง "สเตรตฟอร์ด เอนด์" มาถึงจุดสิ้นสุดลง เมื่อมันถูกบูรณะใหม่และแทนที่ด้วยเก้าอี้นั่ง จนกระทั่งใน ปี ค.ศ. 1994 สนาม "โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" ก็กลายเป็นสนามที่นั่งทั้งหมดครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยที่ความจุสำหรับแฟนบอลกลับลดลงไป ดังนั้นความจุแค่ 43,000 ที่นั่ง ย่อมไม่เพียงพอแน่ต่อความต้องการของแฟนบอลที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหานี้ อัฒจันทร์ ฝั่ง นอร์ท สแตนด์ ก็ถูกปรับปรุงใหม่ในฤดูกาล 1995/96 ถึงตอนนั้นความจุของสนามเท่ากับ 56,387 ที่นั่ง แต่มีแฟนบอลอีกจำนวนหนึ่ง ไม่พอใจเกี่ยวกับสแตนด์ใหม่นี้กับความสูงในระดับ 48 เมตร



สนาม โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด  [Old Trafford Stadium]

โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด ปี2000


ในปัจจุบัน ทีม แมนฯ ยูไนเต็ด มีสนามใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษ แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยกับค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 28 ล้านปอนด์ ยูฟ่า ซึ่งเป็นองค์กรควบคุมเกมฟุตบอลของยุโรป เรียก "โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด" ว่าเป็นสนามที่ดีที่สุดในอังกฤษ และใช้รองรับเกมการแข่งขันฟุตบอลยูโร 96 ถึง 5 นัด แต่ด้วยความสำเร็จในช่วงทศวรรษที่ 90 จำนวนแฟนบอลที่ต้องการเข้าชมเกมมีมากขึ้น ปลายฤดูกาล 1999/2000 อัฒจันทร์ฝั่ง อีสต์ สแตนด์ ได้ถูกปรับปรุงใหม่จนสามารถเพิ่มความจุผู้ชมเป็น 61,000 ที่นั่ง หลังจากนั้นต้นฤดูกาล 2000/01 อัฒจันทร์ฝั่ง สเตรตฟอร์ด เอนด์ ก็ได้ถูกปรับปรุงใหม่เช่นกันโดยเพิ่มที่นั่งเป็น 2 ชั้น จนกระทั่งปัจจุบันความจุของสนามสุทธิคือ 68,217 ที่นั่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาสโมสรฟุตบอลทั้งหมดในเกาะอังกฤษ


สนาม โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด  [Old Trafford Stadium]

ภาพภายใน โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด


แม้จะครองสถิติเป็นสนามที่มีความจุใหญ่ที่สุดบน เกาะอังกฤษในปัจจุบัน แมนฯ ยูไนเต็ด ก็ยังมี แผนการขยายความจุผู้ชมของสนาม "โอล์ด แทรฟฟอร์ด" ในอนาคตให้เป็น 90,000 ที่นั่ง ที่มุมสนามทั้ง 2 มุม ของอัฒจันทร์ฝั่ง นอร์ท สแตนด์ ต่อกันกับ สเตรตฟอร์ด เอนด์ และ อีสต์ สแตนด์ โดยที่อัฒจันทร์ฝั่ง เซาธ์ สแตนด์ แต่การขยายความจุนั้นต้องถือว่าเป็นไปได้ยากเพราะอยู่ใกล้กับทางรถไฟ ซึ่งเคยมีผู้เสนอให้ขยายโดยสร้างอัฒจันทร์ชั้นที่ 3 คร่อมทางรถไฟ ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีทางวิศวกรรมสมัยใหม่และมีค่าใช่จ่ายที่สูงมาก
อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนแฟนบอลที่เพิ่มขึ้นมากมายจากทั่วทุกมุมโลกที่ต่างปรารถนาจะมาชมเกมการแข่งขัน ณ โรงละครแห่งความฝัน ไม่แน่ว่าเราอาจได้เห็นรูปลักษณ์ใหม่ของ "โอล์ด แทร็ฟฟอร์ด" ในอนาคต ที่อาจเป็นสนามฟุตบอลแห่งแรกในโลกที่มีอัฒจันทร์คร่อมรางรถไฟก็เป็นได้


สนาม โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด  [Old Trafford Stadium]

ภาพภายใน โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด


ที่มา:http://www.glory-manutd.com

ประวัติผู้จัดการทีม

ประวัติเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน

ประวัติเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน
SIR ALEX FERGUSON
สัญชาติ
scotland
รับตำแหน่ง
6 November 1986.
ความสำเร็จ
Premier League : 1993, 1994, 1996, 1997, 1999, 2000, 2001, 2003, 2007, 2008, 2009, 2011,2013
FA Cup : 1990, 1994, 1996, 1999, 2004
League Cup : 1992, 2006, 2009, 2010
UEFA Champions : League : 1999, 2008
FIFA Club World Cup : 2008
UEFA Super Cup : 1992
UEFA Cup Winners Cup : 1991
Inter-Continental Cup : 1999
FA Charity / Community Shield : 1990 (shared), 1993, 1994, 1996, 1997, 2003, 2007, 2008, 2010
"เซอร์อเล็ก เฟอร์กูสัน" ผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลอังกฤษ เขาสามารถพาลูกทีมคว้าแชมป์มาครองได้ มากกว่า 30 ถ้วย นับตั้งแต่เขาก้าวเข้ามาเปลี่ยนแปลง "The Red" แม้เวลาจะผ่านมากว่า 2 ทศวรรษ ไม่ได้ทำให้ความกระหายในชัยชนะของเขาลดลงเลย เขายังคงพาลูกทีมของเขาไล่ล่าถ้วยแชมป์อย่างไม่หยุดยั้ง
ตลอดระยะเวลาการค้าแข้ง เขาได้ลงเล่นให้กับทีมควีน ปาร์ค เรนเจอร์,เซนต์ จอห์นสตั้น, ดันเฟิร์มลิน, กลาสโกวร์ เรนเจอร์ส, ฟัลเคิร์ก และอายร์ ยูไนเต็ด แต่ทว่าเส้นทางการค้าแข้งของเขากลับไม่ประสบความสำเร็จมากนัก
หลังจากเส้นทางการค้าแข้งของเขายุติลง "เซอร์อเล็ก เฟอร์กูสัน" ได้ผันตัวเองมาเป็นโค้ช เขาเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมอีส สเตอร์ลิ่งไชร์,เซนต์ เมียร์เรน ตามด้วยอเบอร์ดีน มันเป็นช่วงเวลาที่ยอดเยี่ยมของเขา ทำให้เขาก้าวขึ้นมาเป็นโค้ชชั้นนำ เขาสามารถพาทีมอเบอร์ดีน คว้าแชมป์สก็อตติชลีก 3 สมัย, สก็อตติช คัพ 4 สมัย, ลีก คัพ 1 สมัยและแชมป์ยูโรเปี้ยนคัพอีก 1 สมัย


Alex Ferguson: Alex Ferguson manager of Aberdeen
หลังการปลดรอน แอสกินสัน ออกจากการเป็นผู้จัดการทีม "แมนเชสเตอร์ ยูไนเตด" ได้ดึงตัวเขามารับตำแหน่งอย่างรวดเร็ว โดย "เซอร์อเล็ก เฟอร์กูสัน" เริ่มต้นการเป็นผู้จัดการทีมของยูไนเตดเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 1986
"แมนเชตเตอร์ ยูไนเตด" ในขณะนั้น ไม่ใช่ทีมที่ดีนัก ในยุครุ่งเรืองของอริตัวฉกาจ อย่าง "ลิเวอร์พลู" โดยทีมของเขานั้นจมอยู่ในโซนท้ายตาราง หน้าที่ของ "เฟอร์กูสัน" คือพาทีมรอดจากการตกชั้น โดยไม่มีการเสริมทัพเลย ซึ่งเขาสามารถพาทีมจบในอันดับที่ 11 ของตารางคะแนนในฤดูกาลนั้น
ตอนนี้ "เฟอร์กูสัน" ต้องพบกับงานชิ้นสำคัญ คือการเปลี่ยนแปลง "แมนเชตเตอร์ ยูไนเตด" ให้ยิ่งใหญ่เทียบเท่าทีมอื่นๆ "ยูไนเตด" ขณะนั้น ถือเป็นทีมที่มีสไตล์การเล่นที่สวยงาม แต่ดูเหมือนว่าพวกเขาไม่สามารถรับมือกับทีมที่มีความแข็งแกร่งในลีกได้ โดยฤดูกาลที่ 2 ของเขากับยูไนเตด เขาสามารถพาทีมจบฤดูกาล ด้วยอันดับที่ 2 ซึ่งเป็นรองทีมคู่อริอย่างลิเวอร์พลู จุดเปลี่ยนสำคัญ เกิดขึ้นในฤดูกาล 1989/1990
จากฟอร์มการเล่นที่สม่ำเสมอในทุกๆรอบ "ยูไนเตด" ก็สามารถคว้าแชมป์แรกของพวกเขาภายไต้การคุมทีมของ "เฟอร์กูสัน" ได้สำเร็จ โดยหนึ่งประตูของลี มาร์ตินนั้น เพียงพอที่ทำให้พวกเขาเอาชนะคริสตัน พาเลส ในเกมเอฟเอ คัพ รอบชิงชนะเลิศ นัดรีเพล์ย และคว้าแชปม์ได้ในที่สุด


Sir Alex Ferguson celebrates with Bryan Robson after United's 1990 FA Cup win
ถ้วยรางวัลแรกของพวกเขาถือเป็นการเบิกร่องในการไล่ล่าถ้วยในรายการต่อๆไป พวกเขาสามารถคว้าแชมป์ยูโรเปี้ยนคัพในฤดูกาลต่อมา โดย 2 ประตูจากมาร์ค ฮิลก์ ทำให้พวกเขาคว่ำยอดทีมแดนกระทิงดุอย่างบาร์เซโลน่าลงได้ด้วยสกอร์ 2-1 ต่อมาในฤดูกาล 1991/1992 พวกเขาก็สามารถคว้าแชมป์ลีกคัพได้สำเร็จ
แต่ที่น่าเศร้ายังคงอยู่ในใจของแฟนบอล "ยูไนเตด" กว่า 26 ปี ที่พวกเขาไม่สามารถคว้าแชมป์ลีกได้เลย ซึ่งทีมที่ยิ่งใหญ่ในขณะนั้นคือ ลิเวอร์พลู ที่เรียกได้ว่าเป็นมหาอำนาจทั้งเกมภายในประเทศ และเกมยุโรป
ในที่สุดการรอคอยแชมป์ลีกที่ยาวนานก็สิ้นสุดลง ในฤดูกาล 1992/93 "ยูไนเตด" เป็นผลจากการคว้าตัว "อีริค คันโทน่า" มาร่วมทีม ด้วยค่าตัว 1 ล้านปอนด์
พวกเขายังคงเดินหน้าล่าแชมป์ลีกอย่างต่อเนื่อง ในฤดูกาล 1993/1994 พวกเขาสามารถคว้าแชมป์ลีกสมัยที่ 2 ได้สำเร็จ ครั้งต่อมาในฤดูกาล 1995/1996 และแชมป์อื่นๆ ในปี 1997


 Man Utd 1998-1999 Champions League Final
ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของ "เซอร์อเล็ก เฟอร์กูสัน" เกิดขึ้นในฤดูกาล 1998/1999 ซึ่งฤดูกาลนั้นเอง พวกเขาสามารถคว้าทริปเบิ้ลแชมป์ได้สำเร็จ ได้แก่ แชมป์ลีก,เอฟเอ คัพ และยูโรเปี้ยนคัพ ค่ำคืนที่น่าจดจำในบาร์เซโลน่า เมื่อเขาตัดสินใจส่ง เทดดี้ เชอร์ริงแฮม และโอเล่ กุนนาร์ โซลชาร์ สองนักเตะตัวสำรองลงสนาม และนั่นทำให้โลกต้องจารึกไว้ เมื่อทั้ง 2 คน สามารถทำประตูได้ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ ช่วยให้ "ยูไนเตด" พลิกกลับมาเอาชนะบาเยิร์น มิวนิคได้อย่างไม่น่าเชื่อ ด้วยสกอร์ 2-1 และนั่นส่งผลให้พวกเขาคว้า ทริปเบิ้ลแชมป์ได้สำเร็จ
"เฟอร์กูสัน" คือ อัศวิน จากความสำเร็จของเขา หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าเขาจะวางมือหรือไม่ เนื่องจากเขาสามารถคว้าทริปเปิ้ลแชปม์แล้ว ความกระหายในชัยชนะของเขาอาจลดลง ซึ่งข้อสงสัยทั้งหมด ถูกขจัดไปโดยสิ้น เขายังคงพาลูกทีมเดินหน้าไล่ล่าแชมป์ต่างๆอย่างไม่หยุดยั้ง เขายังคว้าแชมป์ลีกในฤดูกาล 1999/2000 และ 2000/2001 นับเป็นการคว้าแชมป์ 3 สมัยติดต่อกัน แชมป์ลีกสมัยที่ 8 ของเขา เกิดขึ้นในฤดูกาล 2002/2003 ปีต่อมา พวกเขาก็คว้าแชมป์เอฟเอ คัพ สมัยที่ 5 ได้สำเร็จ โดยการเอาชนะมิลล์วอล์ ในคาร์ดิฟฟ์
ในขณะนั้น "ยูไนเตด" จำเป็นต้องสร้างทีมใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามกฏโฮมโกล์ว ประกอบกับนักเตะในยุค 1995/1996 ก้าวเข้าสู่บั้นปลายของการค้าแข้ง จำเป็นต้องมีการผลักดันดาวรุ่งให้ก้าวขึ้นมาสานต่อความยิ่งใหญ่ ประกอบกับการนำเข้า 2 ดาวรุ่งอย่าง เวย์น รูนีย์ และ คริสติโน่ โรนัลโด้


 Man Utd 2005/2006
"ยูไนเตด" ในยุคสายเลือดใหม่ สามารถคว้าแชมป์คาร์ลิง คัพ ในฤดูกาล 2005/2006 และแชมป์พรีเมียร์ลีก สมัยที่ 9 ได้ ในฤดูกาล 2006/2007 ในปี 2007 "เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน" เสริมความแข็งแกร่งของทีม ด้วยการนำเข้านักเตะอย่าง แอนเดอร์สัน , นานี่ และ โอเว่น ฮาร์กรีฟ เขายังพาทีมประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ในปี 2007/2008 พวกเขาสามารถป้องกันแชมป์พรีเมียร์ลีก และคว้าแชมป์เปี้ยนลีก สมัยที่ 2 ได้สำเร็จ
หลังจากได้แชมป์ยุโรปได้ พวกเขาก็เดินหน้าเพื่อเป็นทีมที่ดีที่สุดในโลก ด้วยการคว้าแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก ที่ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนธันวาคม 2008 พวกเขายังคว้าแชมป์คาร์ลิ่ง คัพ ในเดือนมีนาคม ปี 2009 ด้วยการดวลจุดโทษเอาชนะทีม ทอตนัม ฮอตสเปอร์ ในรอบชิงชนะเลิศ
ในวันที่ 16 พฤษพาคม 2009 "ยูไนเตด" ได้สร้างสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด เมื่อพวกเขาสามารถคว้าแชมป์ลีกสมัยที่ 18 เทียบเท่าทีมอริอย่างลิเวอร์พลู ที่ได้ชื่อว่า "ทีมที่คว้าแชมป์ลีกสูงสุด" การคว้าแชมป์ลีกฤดูกาลนี้ เป็นเหมือนการ "ยิงแสกหน้าเหล่าเดอะค็อป" ทั้งหลายให้หน้าหงายไปตามๆกัน
ความทะเยอทะยานของ "เซอร์อเล็ก" กับเหล่านักเตะ ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น เพราะเป้าหมายต่อไป คือ การเป็นทีมที่คว้าแชมป์ลีกสูงสุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลอังกฤษ แซงหน้าทีมลิเวอร์พลู อดีตมหาอำนาจลูกหนังอังกฤษ


Sir Alex Ferguson in Manchester United Champions 19 time Barclays Premier League Parade
และเป้าหมายนั้นก็ถูกพุ่งชนจนได้ เมื่อลูกทีมของ "เซอร์อเล็ก เฟอร์กูสัน" สามารถจบฤดูกาล 2010/2011 ด้วยตำแหน่งแชมป์ นั่นสงผลให้ "แมนเชตเตอร์ ยูไนเตด" ถูกจารึกว่าเป็น "ทีมที่คว้าแชมป์ลีกสูงสุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลอังกฤษ"
ในฤดูกาลถัดมา นับเป็นปีที่น่าผิดหวังของเฟอร์กูสัน เมื่อลูกทีมเขาทำผลงานได้อย่างย่ำแย่ในเวทียุโรป ซึ่งพวกเขาโดนทีมอย่างเอฟซี บาเซิ่ล และเบนฟิก้า เขี่ยตกรอบแบ่งกลุ่มไปแบบสุดช็อค และในช่วงท้ายฤดูกาล พวกเขายังโดนคู่ปรับร่วมเมืองอย่างแมนเชสเตอร์ ซิตี้ แย่งแชมป์พรีเมียร์ลีกไปครองในนัดสุดท้ายของฤดูกาล 2011/12 สร้างความเจ็บช้ำให้เหล่าสาวกปีศาจแดงเป็นอย่างมาก
การเสียแชมป์ลีกให้ กับ"เรือใบสีฟ้า"แมนเชสเตอร์ ซิตี้ จากผลประตูได้เสียในฤดูกาล 2011/12 สร้างผิดหวังให้กับ"เฟอร์กี้"เป็นอย่างมาก เขาประกาศต่อหน้าแฟนบอลว่าจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีกครั้ง เขาเดินหน้าล่าตัว "โรบิ้น ฟานเพอร์ซี่" ดาวยิงตัวเก่งของอาร์เซน่อลมาร่วมทีม และกลายเป็นคีย์แมนพา "ปีศาจแดง" ทวงแชมป์ลีคคืนจาก"เพื่อนบ้านน่ารำคาญ"ได้สำเร็จในฤดูกาล 2012/13


Sir Alex Ferguson in Manchester United Champions 20 time Barclays Premier League Parade
ท่ามกลางห่วงเวลาแห่งความ สุขของเหล่าสาวก​"ปีศาจแดง" จากการที่ทีมรักของพวกเขาทวงแชมป์ลีคคืนจากทีม "เรือใบสีฟ้า" ได้สำเร็จ กลับมีเรื่องไม่คาดคิดเกิดขึ้น เมื่อเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ตัดสินใจประกาศอำลาทีมหลังจบฤดูกาล 2012/13 ถือเป็นการยุติหน้าที่ผู้จัดการทีมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ลูกหนัง โลก
ช่วงเวลากว่า 27 ปี ที่นายใหญ่ชาวสก็อตฯผู้นี้เข้าเปลี่ยนแปลงทีม"ปีศาจแดง" นับตั้งแต่การเข้ารับตำแหน่งต่อจาก รอน แอสกินสัน ในเดือนธันวาคม ปี 1986 เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน พาทีม"ปีศาจแดง" ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ด้วยการคว้าแชมป์ลีกมาครองได้ 13 สมัย แชมเปี้ยนส์ลีก 2 สมัย เอฟเอคัพ 5 สมัย และลีคคัพอีก 4 สมัย และถือเป็นผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอล อังกฤษ
ที่มา:  http://www.glory-manutd.com

ประวัติสโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

ประวัติสโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ฟุตบอล คลับ เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงต้นทศวรรษ 1870 เมื่อพนักงานการรถไฟกลุ่มหนึ่งได้ก่อตั้งทีมฟุตบอลขึ้นมา ซึ่งพวกเขาใช้ชื่อว่า เดอะ แลงคาเชียร์ แอนด์ ยอร์คเชียร์ เรียลเวย์ ฟุตบอล คลับ และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น นิวตัน ฮีธ ในปี 1878 โดยพวกเขาพยายามเข้าร่วมฟุตบอลลีกถึงสองครั้งแต่ก็ล้มเหลว เพราะไม่มีสโมสรใดให้การสนับสนุน แต่ในที่สุดพวกเขาก็ได้รับการยอมรับเมื่อฟุตบอลลีกมีการแบ่งออกเป็นสองดิวิ ชั่นในเวลาต่อมาไม่นาน

Newton Heath in 1892.
เกมลีกนัดแรกในประวัติศาสตร์ของ นิวตัน ฮีธ คือ ดารมพ่ายแพ้ต่อ แบล็คเบิร์น โรเวอร์ส 3-4 แต่ชัยชนะนัดแรกก็มาถึงในไม่ช้า เมื่อพวกเขาจัดการถล่มเอาชนะ วูล์ฟแฮมป์ตัน วันเดอเรอร์ส ไปได้ถึง 10-1 แต่หลังจากนั้นทีมกลับทำผลงานได้อย่างน่าผิดหวัง เมื่อคว้าชัยชนะได้เพียงแค่ 6 จาก 30 นัดเท่านั้น จนทำให้พวกเขาตกไปอยู่ในอับดับบ๊วยของตาราง แต่พวกเขาก็รอดการตกชั้นได้ หลังจากที่เอาชนะ สมอลล์ ฮีธ ไปได้ 5-2 ที่สนาม บรามอลล์เลน
แต่ในปีต่อมาทีมยังคงเล่นแย่เหมือนเดิมและต้องตกชั้นไปในที่สุด โดยแม้จะมีการยุบลีก และตั้งขึ้นมาใหม่ แต่ทีมก็มีปัญหาในการเข้าร่วมลีกอีกครั้ง เนื่องจากสถานะทางการเงินที่ไม่ดีนัก ก่อนที่พวกเขาจะล้มละลายเมื่อเข้าปี 1902 โชคดีที่มีผู้อำนวยการโรงกลั่นเบียร์ที่ชื่อ จอห์น เดวี่ส์ มาลงทุนกับสโมสร ทำให้เขากลายเป็นผู้อำนวยการ และประธานสโมสรในท้ายที่สุด จากนั้นทีมก็เปลี่ยนชื่อมาเป็น แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้
และอีกไม่นาน เออร์เนสต์ แมกนัลล์ ก็ถูกแต่งตั้งให้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมคนแรกของทีมในปี 1903 โดย แมกนัลล์ ได้นำพาไต่ขึ้นมาจากดิวิชั่น 2 ได้ และจากสไตล์การเล่นที่รวดเร็ว และ สวยงาม ในฤดูกาล 1907-08 "ปีศาจแดง" ก็สามารถคว้าแชมป์ลีกมายังถิ่น โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด ได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสโมสร แถมในปีถัดมาพวกเขายังคว้าแชมป์เอฟเอ คัพ ไปครองได้อีกต่างหาก

The 1908 championship-winning side.
แต่หลังจากที่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แมนฯ ยูไนเต็ด ก็ประสบปัญหาจนได้ เมื่อสนาม โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด เกิดใช้การไม่ได้ รวมถึงนักเตะบางคนก็อายุมากขึ้น ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่โดยการเซ็นสัญญากับ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ทีมร่วมเมือง เพื่อขอใช้สนาม เมน โร้ด เป็นสนามเหย้า พร้อมกับแต่งตั้ง แม็ตต์ บัสบี้ เป็นผู้จัดการทีมชุดนั้น แต่ใครจะไปรู้ได้ว่าชายผู้นี้แหละที่ได้สร้าง "เร้ด เดวิลส์" ให้กลับขึ้นมาผงาดอีกครั้ง เมื่อเขาพาทีมที่มีเด็กท้องถิ่นเป็นองค์ประกอบหลักคว้าแชมป์ลีกในฤดูกาล 1951-52 และบับจากนั้นมันก็ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของยุค บัสบี้ เบ๊บส์ อันยิ่งใหญ่
แชมป์ลีกในฤดูกาล 1955-56 ตกเป็นของพวกเขา และในฟุตบอลยุโรป บัสบี้ ก็สามารถพาทีมลุยเข้ารอบ ยูโรเปี้ยน คัพ และไปถึงรอบรองชนะเลิศ ได้สำเร็จก่อนที่จะตกรอบไป แต่ยังดีที่พวกเขาคว้าแชมป์ดิวิชั่นหนึ่งได้อีกสมัย และจะได้กลับมายุโรปใหม่ในปีหน้า แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นอย่างที่คิดเมื่อสโมสร แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด มาประสบอุบัติเหตุครั้งใหญ่ เมื่อเครื่องบินโดยสารทีมที่ลงจอดในกรุงมิวนิค เกิดอุบัติเหตุขณะกำลังบินขึ้นฟ้า ส่งผลให้ผู้เล่นของทีม 8 รายเสียชีวิตทันที และนั่นก็เป็นโศกนาฏกรรมที่สะเทือนใจที่สุดในวงการกีฬาทั่วโลกในขณะนั้น

the Munich air disaster

หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว แม็ตต์ บัสบี้ ได้ทำการตัดสินใจสร้างทีมขึ้นมาใหม่เพื่อสานฝันที่จะคว้าแชมป์ยูโรเปี้ยน คัพ ให้ได้ โดยแกนนำยังเป็นนักเตะที่รอดชีวิตมาจากเหตุการณ์เครื่องบินตก รวมกับผู้เล่นจากทีมสำรอง, ทีมเยาวชน และนักเตะที่ซื้อเข้ามาใหม่ จนทีมเริ่มกลับมาแข็งแกร่งขึ้นตามลำดับ และเมื่อฝันร้านร้ายได้ผ่านไปพวกเขาก็กลับมาคว้าแชมป์ได้อีกครั้งในถ้วย เอฟเอ คัพ ปี 1963 ซึ่งในฤดูกาลนั้นเองนักเตะอย่าง จอร์จ เบสต์ ,เดนนิส ลอว์ และ บ็อบบี้ ชาร์ลตัน แจ้งเกิดขึ้นมาได้สำเร็จ และดูเหมือนช่วงนี้จะเป็นเวลาที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งสโมสร เมื่อพวกเขาคว้าแชมป์ลีกมาครองได้ 2 สมัยในรอบ 3 ปีหลัง และแน่นอนเป้นหมายต่อไปของพวกเขาย่อมอยู่ที่ ยูโรเปี้ยน
จนในที่สุดความฝันของ แม็ตต์ บัสบี้ ก็เป็นจริง เมื่อ ลูกทีมของเขา ไล่ถล่มเอาชนะ เบนฟิก้า ทีมชื่อดังของเมืองฝอยทองซึ่งนำทัพมาโดย ยูเซบิโอ นักเตะชื่อก้องโลก ไปได้ที่สนาม เวมบลีย์ ด้วยสกอร์ 4-1 และคว้าแชมป์ถ้วยสโมสรใบใหญ่สุดของยุโรปไปได้อย่างงดงาม ก่อนที่ บัสบี้ จะวางมือในเวลาต่อมาซึ่งนั่นดูเหมือนว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนของทีมอีกครั้ง เมื่อช่วงทศวรรษที่ 1970 วิลฟ์ แม็คกินเนสส์, แฟร้งค์ โอ ฟาร์เรลล์ และ ทอมมี่ ด็อคเคอร์ตี้ ที่เข้ามารับงานต่อจากเซอร์บัสบี้ ต่างก็ทำผลงานได้ย่ำแย่จนทีมต้องตกชั้นลงไปเล่นในดิวิชั่น 2 ในเวลาไม่นาน
ช่วงทศวรรษ 80 หลังจากที่ ยูไนเต็ด กลับมาขึ้นมาในลีกสูงสุดอีกครั้ง พวกเขาก็ยังสร้างผลงานได้ไม่เป็นที่น่าประทับใจนัก ทำให้ทางเบื้องบนได้ตัดสินใจที่จะดึงตัว รอน แอ๊ตกินสัน เข้ามาคุมทีมแทนที่ของ เดฟ เซ็กซ์ตัน ในปี 1981 โดยบิ๊กรอน ได้นำนักเตะใหม่หลายคนเข้ามาสู่ทีม โดยเฉพาะในรายของ ไบรอัน ร็อบสัน กองกลางชาวอังกฤษที่เขาจ่ายเงินกว่า 1.5 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 105 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าตัวนั้นถือเป็นการซื้อที่เป็นสถิติการย้ายทีมของเกาะอังกฤษในเวลานั้นเลย แต่หลังจากนั้น ร็อบสัน ก็แสดงให้เห็นว่าเขาเล่นได้คุ้มค่าตัวทุกเพนนี แต่การเปลี่ยนแปลงในรั่ว โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด ก็ยังไม่หยุดลงแค่นี้ เมื่อทางบอร์ดบริหารได้เห็นตรงกันว่า การคว้าแชมป์เอฟเอ คัพ 2 สมัย นั้นไม่เพียงพอต่อสโมสรระดับนี้ ส่งผลให้ตำแหน่งผู้จัดการทีม ยูไนเต็ด เปลี่ยนมือมาจาก แอ๊ตกินสัน ไปสู่ผู้จัดการทีมคนใหม่ที่ชื่อว่า อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน

Alex Ferguson in 1986
งานชิ้นใหม่ของ "เฟอร์กี้" ในถิ่น โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด เขาต้องเผชิญหน้ากับแรงกดดันที่มากมาย และด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้ผู้จัดการทีมคนก่อนอย่าง แอ๊ตกินสัน ต้องกระเด็นตกเก้าอี้ไป แน่นอนว่าแค่แชมป์เอฟเอ คัพ อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความทะเยอทะยานและความต้องการของสโมสร ยักษ์ใหญ่อย่าง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ได้ และงานนี้ของ "เฟอร์กี้"ก็ดูท่าจะต้องพบกับความยากลำบาก เมื่อยุคนั้น ลิเวอร์พูล อริตัวฉจากของทีมกำลังครองความยิ่งใหญ่ในประเทศอยู่ โดยมี อาร์เซน่อล และ เอฟเวอร์ตัน เป็นอีกสองทีมที่พอฟัดพอเหวี่ยง
18 เดือนแรกของ เฟอร์กี้ นั้นก็ดูจะผ่านไปได้อย่างราบรื่น เมื่อ ยูไนเต็ด จบซีซั่นอันดับสองของลีกในปี 1988 เป็นรองแค่ ลิเวอร์พูล ทีมเดียวเท่านั้น ทว่าหลังจากจุดสูงสุดครั้งนั้น ปีศาจแดง ต้องกลับมาประสบปัญหาอีกครั้ง ความพ่ายแพ้ยับเยิน 1-5 รวมถึงการพ่ายต่อเพื่อนร่วมเมืองอย่าง แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ในเดือนพฤศจิกายน 1989 ซึ่งนั่นเป็นเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดกระแสเรียกร้องให้ปลดเขาออกจากตำแหน่ง โดยปีนั้นจบปีด้วยอันดับ 11 ของตาราง
แต่หลังจากเหตุการณ์นั้นทุกอย่างก็ดูเปลี่ยนไป และถ้าหากเรามาดูกันความสำเร็จในปัจจุบันต้องถือว่าการตัดสินใจครั้งสำคัญที่สุดของบอร์ดปีศาจแดงที่ปล่อยให้ เฟอร์กูสัน ทำงานพิสูจน์ฝีมือต่อนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องที่สุด ซึ่งประตูชัยของ มาร์ค โรบินส์ ในเกมเอฟเอ คัพ รอบ 3 ที่ น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ ในเดือนมกราคม 1990 เปรียบเสมือนเป็นการปลุก "เร้ด เดวิลส์"ให้กลับสู่ยุคทองของสโมสรอีกครั้ง
ซึ่งแชมป์แรกของพวกเขาภายใต้การนำทีมของ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ก็เกิดขึ้นจากการคว่ำ คริสตัล พาเลซ ในรอบชิงชนะเลิศ นัดรีเพลย์ ศึก เอฟเอ คัพ จากนั้นในปี 1991 ถ้วยใบที่สองก็ตามมาติดๆ เมื่อ ยูไนเต็ด ปราบยักษ์ใหญ่จาก สเปน อย่าง บาร์เซโลน่า ไปได้ในนัดชิงชนะเลิศศึก คัพ วินเนอร์ส คัพ ที่ร็อตเตอร์ดัม ได้สำเร็จ
อย่างไรก็ตาม เฟอร์กี้ นั้นก็รู้ดีว่าตำแหน่งแชมป์ลีกที่เขายังทำไม่ได้นั้นเป็นเป้าหมายสูงสุดของทีมในเวลานั้น แต่พวกเขาก็ต้องผิดหวังอีกครั้งเมื่อในปี 1992 เมื่อพวกเขาถูก ลีดส์ ยูไนเต็ด แซงแย่งแชมป์ไปแบบพลิกความคาดหมาย โดยที่ปีเดียวกันทีมก็มีถ้วยรางวัลปลอบใจติดมือมา 1ใบคือ ลีก คัพ

Eric Cantona in 1992
พฤศจิกายน 1992 การเข้ามาของ เอริก คันโตน่า ก็เปรียบเสมือนเป็นจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายของ เฟอร์กี้ ในการไล่ล่าแชมป์ ที่ปีศาจแดง รอคอยมานานถึง 26 ปี โดยทีมสามารถคว้าแชมป์พรีเมียร์ชิพในปี 1993 มาครองได้สำเร็จ และหลังจากวันนั้นทีมก็เปล่งประกายของการเป็นทีมฟุตบอลที่ดีสุดในประเทศอีกครั้ง เมื่อพวกเขาคว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้ในปี 1994 ได้อบบต่อเนื่อง แถมยังเกือบเป็นทริปเบิ้ลแชมป์ด้วย หากไม่เพราะความพ่ายแพ้ในนัดชิงชนะเลิศถ้วย ลีก คัพ
แต่จากการขาด เอริก คันโตน่า ในฤดูกาลถัดมา เนื่องจากติดโทษแบนจากการไปมีเรื่องกับแฟนบอลพาเลซ ซึ่งนั้นก็ดูเหมือนจะส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่อการพลาดดับเบิ้ลแชมป์อีกสมัยของทีม เมื่อ ยูไนเต็ด พลาดท่าในลีกต่อ แบล็คเบิร์น โรเวอร์ส ในเกมสุดท้าย และก็ต่อด้วยการพ่ายให้กับ เอฟเวอร์ตัน ในเกมนัดชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพ ในไม่กี่สัปดาห์ต่อมา พอถึงช่วงซัมเมอร์ปี 1995 บรรดาผอง เร้ด อาร์มี่ ก็ต้องช็อกกับเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ เฟอร์กี้ จัดการเปลี่ยนแปลงทีมครั้งใหญ่ ด้วยการขายผู้เล่นชั้นดีอย่าง พอล อินซ์, มาร์ค ฮิวจ์ส และ อังเดร แคนเชลสกี้ส์ ออกจากทีมเวลาไล่เลี่ยกัน แล้วหันมาใช้งานบรรดาดาวรุ่งรุ่นใหม่ของทีมอย่าง เดวิด เบ็คแฮม, สองพี่น้องเนวิลล์ ,พอล สโคลส์ และ นิคกี้ บัตท์
เรื่องนี้ที่อังกฤษมีการพูดถึงกันอย่างมากถึงการกระทำของ เฟอร์กี้ ครั้งนี้ แต่บรรดาดาวรุ่งทั้งหลายก็ช่วยลบคำสบประมาทและเสียงก่นด่าให้กับเจ้านาย ด้วยการนำปีศาจแดง ครองดับเบิ้ลแชมป์สมัยที่ 2 ได้เป็นทีมแรกของประเทศ ในปี 1997 ยูไนเต็ด ยังคงรักษาตำแหน่งทีมอันดับหนึ่งของประเทศไว้ได้ต่อไป แต่เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลพวกเขาก็ต้องพบกับการสูญเสียนักเตะคุณภาพไปอีกหนึ่งรายหลังจากที่ เอริก คันโตน่า ประกาศอำลาสังเวียนอย่างช็อกคนทั้ง โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด
ในฤดูกาลถัดมา แม้พวกเขาจะนำโด่งเป็นจ่าฝูงจนเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้าย แต่จากอาการบาดเจ็บของนักเตะตัวหลักหลายราย ส่งผลให้ อาร์เซน่อล ที่เดินหน้าคว้าชัยชนะ 10 เกมติด แซงหน้าเข้าป้ายคว้าแชมป์ไปอย่างเจ็บแสบ และนอกจากนี้ไอ้ปืนใหญ่ ยังตีเสมอสถิติดับเบิ้ลแชมป์ 2สมัยได้ด้วย หลังจากเอาชนะ นิวคาสเซิ่ล ยูไนเต็ด คู่ชิงในเอฟเอ คัพไปได้สำเร็จ

United players parade the UEFA Champions League trophy
1998-99 ฤดูกาลที่ได้ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ลูกหนังอังกฤษ และคาดว่าจะอยู่ในความทรงจำของชาวแฟน ปีศาจแดง ไปอีกนานเท่านาน เมื่อ เฟอร์กี้ ทุ่มเงินจำนวน 27 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 2,025 ล้านบาท ในคว้า 3 ดาวเตะตัวใหม่อย่าง ดไวท์ ยอร์ค, ยาป สตัม และ เยสเปอร์ บลอมควิสต์ มาเสริมทัพ และเงินทุกเพนนีที่จ่าไปเมื่อต้นซีซั่นนั้นก็ถูกตอบแทนด้วยผลลัพธ์ที่เหนือความคาดหมาย เมื่อ แมนฯ ยูไนเต็ด ได้ประกาศความยิ่งใหญ่ให้ทุกคนรู้ว่าพวกเขาไม่ใช่แค่สุดยอดสโมสรในระดับประเทศเท่านั้น เมื่อพวกเอาชนะ บาเยิร์น มิวนิค ยักษ์ใหญ่จากเยอรมัน ได้ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บในศึก ยูโรเปี้ยน คัพ พร้อมกับคว้าทริปเบิ้ลแชมป์ได้อย่างมหัศจรรย์
สิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นความทรงจำที่ดีของทีมไปอีกนานเท่านาน แต่อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงแล้วโลกลูกหนังนั้นก็ไม่สามารถมาหยุดกับความสำเร็จในอดีตได้เลย ซึ่ง เฟอร์กูสัน เองก็รู้เรื่องนี้ดี ทำให้เขาเริ่มที่จะถ่ายเลือดใหม่อีกครั้ง ซึ่งแม้แต่ เดวิด เบ็คแฮม ที่เคยเป็นกำลังสำคัญของทีมก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ต้องออกจากถิ่น โอลด์แทร็ฟฟอร์ดไป สู่ รีล มาดริด
พร้อมกันนี้ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของสโมสร แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ก็เกิดขึ้นอีกครั้งหลังจากที่ มัลคอล์ม เกลเซอร์ มหาเศรษฐีชาวสหรัฐฯ เจ้าของทีม แทมป้า เบย์ บัคคาเนียร์ส ในศึกอเมริกันฟุตบอลเอ็นเอฟแอล ได้เข้ามาเทคโอเวอร์กิจการของสโมสรต่อจาก มาร์ติน เอ็ดเวิร์ด เจ้าของทีมคนเก่า และรวบรวมหุ้นมาสู่กำมือของตระกูลแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งการเข้ามาคุมสโมสรของตระกูล เกลเซอร์ ครั้งนี้ก็ดูเหมือนว่าจะสร้างความ โกรธแค้นให้กับแฟนบอลบางส่วนมากทีเดียวขนาดที่ว่า แยกออกไปตั้งสโมสรอีกหนึ่งทีมหนึ่งเลยทีเดียว

รายชื่อนักเตะแมนยู 2013/2014

รายชื่อนักเตะแมนยู 2013/2014 

รายชื่อนักเตะแมนยู 2013/2014 พรีเมียร์ลีก Squad Manchester United 2013-2014 Premier League


รายชื่อนักเตะแมนยู 2013/2014 พรีเมียร์ลีก Squad Manchester United 2013-2014 Premier League


     แมนยู ของกุนซือ ทายาทอสูร เดวิด มอยส์ ในฤดูกาลใหม่นี้ ได้นักเตะใหม่ เป็นดาวรุ่ง คือ กีเญร์โม่ วาเรล่า กองหลังสัญชาติอุรุกวัยเป็นคนแรก และได้มรดกตกทอดอย่าง วิลเฟร็ด ซาฮา ที่เซ็นสัญญล่วงหน้าตั้งแต่เซอร์ อเล็กซ์ ยังคุมทีมอยู่

เบอร์ รายชื่อนักเตะ ตำแหน่ง สัญชาติ วันเกิด Player Manchester United Note
1 ดาวิด เด เคอา ผู้รักษาประตู สเปน 7/11/1990 David de Gea
2 ราฟาเอล ดา ซิลวา กองหลัง บราซิล 9/7/1990 Rafael
3 ปาทริช เอวร่า กองหลัง ฝรั่งเศส 15/5/1981 Patrice Evra
4 ฟิล โจนส์ กองหลัง อังกฤษ 21/2/1992 Phil Jones
5 ริโอ เฟอร์ดินานด์ กองหลัง อังกฤษ 7/11/1978 Rio Ferdinand
6 จอนนี่ อีแวนส์ กองหลัง ไอร์แลนด์เหนือ 2/1/1988 Jonny Evans
7 อันโตนิโอ วาเลนเซีย มิดฟิลด์ เอกวาดอร์ 4/8/1985 Antonio Valencia
8 อันแดร์สัน มิดฟิลด์ บราซิล 13/4/1988 Anderson
9 -




10 เวย์น รูนี่ย์ ศูนย์หน้า อังกฤษ 24/10/1985 Wayne Rooney
11 ไรอัน กิ๊กส์ มิดฟิลด์ เวลล์ 29/11/1973 Ryan Giggs
12 คริส สมอลลิ่ง กองหลัง อังกฤษ 22/11/1989 Chris Smalling
13 อันเดอร์ส ลินเดการ์ด ผู้รักษาประตู เดนมาร์ค 13/4/1984 Anders Lindegaard
14 ฮาเวียร์ เอร์นานเดช ศูนย์หน้า เม็กซิโก 1/6/1988 Javier ‘Chicharito’ Hernandez
15 เนมานย่า วิดิช กองหลัง เซอร์เบีย 21/10/1981 Nemanja Vidic
16 ไมเคิ่ล คาร์ริค มิดฟิลด์ อังกฤษ 28/7/1981 Michael Carrick
17 นานี่ มิดฟิลด์ โปรตุเกส 17/11/1986 Nani
18 แอชลี่ย์ ยัง มิดฟิลด์ อังกฤษ 9/7/1985 Ashley Young
19 แดนนี่ เวลเบ็ค ศูนย์หน้า อังกฤษ 26/11/1990 Danny Welbeck
20 โรบิน ฟาน เพอร์ซี่ ศูนย์หน้า ฮอลแลนด์ 6/8/1983 Robin van Persie
21 อังเกโล่ เอ็นริเกซ ศูนย์หน้า ชิลี 13/4/1994 Angelo Henriquez
22 -




23 ทอม เคลฟเวอร์ลี่ย์ มิดฟิลด์ อังกฤษ 12/8/1989 Tom Cleverley
24 ดาร์เรน เฟล็ทเชอร์ มิดฟิลด์ สก็อตแลนด์ 1/2/1984 Darren Fletcher
25 นิค พาวเวลล์ มิดฟิลด์ อังกฤษ 23/3/1994 Nick Powell
26 ชินจิ คากาวะ มิดฟิลด์ ญี่ปุ่น 17/3/1989 Shinji Kagawa
27 เฟเดริโก้ มาเคด้า ศูนย์หน้า อิตาลี 22/8/1991 Federico Macheda
28 อเล็กซานเดอร์ บุตต์เนอร์ กองหลัง ฮอลแลนด์ 11/2/1989 Alexander Büttner
29 -




30 -




31 -




32 -




33 เบเบ้ ศูนย์หน้า โปรตุเกส 12/7/1990 Bebe
34 -




35 -




36 -




37 -




38 ไมเคิล คีน กองหลัง ไอร์แลนด์ 11/1/1993 Michael Keane
39 -




40 เบน อามอส ผู้รักษาประตู อังกฤษ 10/4/1990 Ben Amos
46 -




50 แซม จอห์นสโตน ผู้รักษาประตู อังกฤษ 25/3/1993 Sam Johnstone
- ฟาบิโอ ดา ซิลวา กองหลัง บราซิล 9/7/1990 Fabio
- กีเญร์โม่ วาเรล่า กองหลัง อุรุกวัย 24/3/1993 Guillermo Varela
- วิลเฟร็ด ซาฮา มิดฟิลด์ อังกฤษ 10/11/1992 Wilfried Zaha